59 หมู่ 2 ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58130
โทรศัพท์ : 053-699196
ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไป
แผนที่
สภาพสังคม
การบริการขั้นพื้นฐาน
สาธารณูปโภค
ผลิตภัณฑ์
สถานที่สำคัญ
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์
โครงสร้างขององค์กร
อำนาจหน้าที่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สภาพทั่วไป

1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของตำบล
ทิศเหนือ จรดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเติง      อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศใต้ จรดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงใต้    อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันออก จรดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฮี้    อำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันตก จรดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงใต้   อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สำนักงานเทศบาลตำบลปาย (ปัจจุบันเป็นเทศบาลขนาดกลาง ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553)
ตั้งอยู่เลขที่ 59 หมู่ 2 ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โทรศัพท์ 053 699 196 โทรสาร 053 699 405
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเนินเขา มีพื้นที่อยู่ในความดูแล 2.4 ตารางกิโลเมตร เป็นชุมชนเมือง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนกันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม - เดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย 6 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วน และดินร่วนปนทราย
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำปาย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคที่สำคัญของเทศบาล และมีลำน้ำห้วยม่วงกอนซึ่งมีต้นน้ำมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ในช่วงฤดูแล้งจะแห้งขอด
1.6 ลักษณะของต้นไม้และป่าไม้
ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ


2. ด้านการเมืองการปกครอง
2.1 เขตปกครอง
เดิมจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลปาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2499 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาล เป็นเทศบาลตำบล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นเทศบาลตำบลปาย ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542
เทศบาลตำบลปาย แบ่งเขตการปกครองดังนี้
1. หมู่ที่ 1 ชุมชนบ้านเมืองพร้าว
2. หมู่ที่ 2 ชุมชนบ้านเจ้าหม้อ
3. หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านป่าขาม
4. หมู่ที่ 4 ชุมชนบ้านเมืองแพร่
5. หมู่ที่ 6 ชุมชนบ้านห้วยปู
2.2 เขตการเลือกตั้ง
เดิมเทศบาลตำบลปายได้แบ่งเขตการเลือกตั้ง
- นายกเทศมนตรี เป็น 1 เขตเลือกตั้ง
- สมาชิกสภาเทศบาล เป็น 2 เขตการเลือกตั้ง
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลปาย ส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมา และประชาชนในเขตเทศบาลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานเทศบาล เสนอแนะในกิจกรรมของเทศบาลในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคม ในการจัดแผนพัฒนาเทศบาล ประชุมประชาคมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้ง
หน่วยเลือกตั้ง เลือกเฉพาะสมาชิก เลือกเฉพาะผู้บริหาร หมายเหตุ
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
1 1 161 210 371 162 210 372  
2 147 177 324 147 177 234  
3 111 154 265 110 154  
รวม 419 541 960 419 541 960  
2 1 59 80 139 59 80 139  
2 124 163 287 125 163 288  
3 138 134 272 137 134 271  
รวม 321 377 698 321 377 698  
รวมทั้งหมด เขตเลือกตั้งที่ ๑
+ เขตเลือกตั้งที่ ๒ = 1,658
ที่มา : ข้อมูล ณ มีนาคม 2564


จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งล่าสุด (พ.ศ.2564)

ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (คน) ผู้มาใช้สิทธิ (คน) คิดเป็นร้อยละ (%)
1,658 1,355 81.72


3. ด้านประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
จำนวนประชากร ณ เดือน เดือนพฤษภาคม 2564
ตารางแสดงจำนวนหมู่บ้าน / ครัวเรือน / ประชากร
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชื่อผู้นำ จำนวน
ครัวเรือน
(ครัวเรือน)
จำนวนประชากร
ชาย (คน) หญิง (คน) รวม (คน)
1 เมืองพร้าว 651 541 486 1,027
2 เจ้าหม้อ 183 158 144 302
3 ป่าขาม 337 555 586 1,141
4 เมืองแพร่ 444 223 231 454
5 ห้วยปู 277 301 261 562
รวม๑,๘๙๒1,7781,7083,486

ที่มา - ข้อมูลจากการสำรวจสำนักทะเบียนเทศบาลตำบลปาย ณ เดือน เดือนพฤษภาคม 2564
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

จำนวนประชากร หญิง ชาย หมายเหตุ

เยาวชน

236

305

อายุต่ำกว่า 18 ปี

ประชาชนทั่วไป

660

570

อายุ 18 – 60 ปี

ผู้สูงอายุ

296

220

อายุมากกว่า 60 ปี

รวม

1,192

1,095

2,287

ที่มา - ข้อมูลจากการสำรวจสำนักทะเบียนเทศบาลตำบลปาย ณ เดือน

4. สภาพทางสังคม
4.1 การจัดการศึกษา
1. มีสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลตำบลปาย จำนวน 2 แห่ง คือ
  1.1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปาย
  1.2. โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปาย
2. มีสถานศึกษาอยู่ในเขตเทศบาลตำบลปายจำนวน 2 แห่ง คือ
  2.1. โรงเรียนอนุบาลปาย(เวียงใต้) (ระดับก่อนประถมศึกษา, ประถมศึกษาและขยายโอกาส)
  2.2. โรงเรียนปายวิทยาคาร (ระดับมัธยมศึกษา)
3. การศึกษาอื่นๆ
  3.1 โรงเรียนปริยัติธรรมแผนกธรรม (วัดหลวง) จำนวน 1 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
มีโรงพยาบาล จำนวน 1 แห่ง
มีสถานพยาบาลเอกชน จำนวน 1 แห่ง
มีร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 3 แห่ง
4.3 อาชญากรรม
เทศบาลไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน และทำลายทรัพย์สินของราชการ ซึ่งเทศบาลก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

4.4 ยาเสพติด
มีปัญหาผู้เสพยาเสพติดเล็กน้อยแต่ได้รับการบำบัดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4.5 การสังคมสงเคราะห์
- การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม อาทิเช่น ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ เด็กกำพร้า
- ให้บริการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดลูกน้ำ ยุงลาย และสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
- ร่วมกับปศุสัตว์อำเภอ จัดให้มีบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทำหมันสัตว์ฟรี
- มีงบประมาณสนับสนุนกลุ่ม/องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆที่มีการดำเนินกิจกรรม เช่น ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมลูกเสือ ชมรมกีฬาและนันทนาการอื่นๆ


5. ระบบบริการพื้นฐาน

5.1 การคมนาคมขนส่ง
เทศบาลตำบลปาย มีระบบโครงสร้างถนนที่เชื่อมติดต่อระหว่างชุมชน/หมู่บ้านต่างๆ ภายในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบค่อนข้างสะดวกและทั่วถึง เส้นทางคมนาคมที่สำคัญได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 ซึ่งเทศบาลฯได้รับมอบให้อยู่ในความดูแลจากกรมทางหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2547 (เฉพาะในเขตพื้นที่เทศบาล) การคมนาคม สามารถเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ระยะทาง 137 กิโลเมตร และไปจังหวัดแม่ฮ่องสอนระยะทาง 111 กิโลเมตร มีรถโดยสารซึ่งได้รับการสัมปทานจากบริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด จำนวน 10 เที่ยวต่อวัน มีรถร่วมบริการที่สามารถเรียกใช้บริการได้ตลอดเวลา และโดยสารโดยสายการบิน มีสนามบิน ซึ่งสามารถนำเครื่องบินเล็กส่วนตัวหรือเช่าเหมาลำลงจอดได้
5.2 การไฟฟ้า
จำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าในเขตเทศบาลมีมากกว่า 100 %
5.3 การประปา
เทศบาลตำบลปาย ปัจจุบันมีราษฎรใช้นำจากการประปาส่วนภูมิภาค สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี

5.4 โทรศัพท์
ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตามตัวเป็นส่วนใหญ่

5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
(1) ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง (อยู่ในเขต อบต.เวียงใต้)
(2) มีท่ารถขนส่งเปรมประชา จำนวน 1 แห่ง ให้บริการทุกๆ ชั่วโมง และทุกวัน
(3) บริษัท เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส จำกัด (J&T Express) 1 แห่ง

6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
เทศบาลมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้นประมาณ 71 ไร่ จำนวนครัวเรือนในภาคเกษตรประมาณ 7 ครัวเรือน ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่เป็นข้าว รองลงมาคือ กระเทียมและถั่วเหลือง
6.2 การประมง
ในเขตเทศบาลไม่มีการประมง
6.3 การปศุสัตว์
- ไม่มีการประกอบกิจการปศุสัตว์ในเขต

6.4 การบริการ
- มีสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 แห่ง
- มีธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน สาขาปาย จำนวน 1 แห่ง
- มีธนาคารกรุงเทพ 1 แห่ง
- มีธนาคารกรุงศรีอยุธยา 1 แห่ง
- มีธนาคารออมสิน 1 แห่ง
- มีธนาคารกสิกรไทย 1 แห่ง

6.5 การท่องเที่ยว
อำเภอปายเป็นเมืองเล็กๆ ประกอบด้วยเขาสูงสลับซับซ้อน มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากเหมือนตรอกข้าวสารในกรุงเทพฯ แต่เงียบสงบน่าอยู่กว่า บ้านเรือน ร้านค้าทำจากไม้สัก ใบตองตึงและสังกะสีดูมีเสน่ห์ดึงดูดใจ เมืองปายมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจได้แก่

ถนนคนเดินปาย อยู่ในตำบลเวียงใต้ ใจกลางอำเภอปาย บริเวณถนนชัยสงคราม ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักที่เชื่อมไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ภายในตัวเมือง ในตอนกลางคืนทั้งถนนจะปิดการจราจร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาเดินเลือกซื้อสินค้า ซึ่งมีทั้งสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่นของชาวเขา ตลอดจนสินค้าอื่นๆ ทั่วไป โดยเฉพาะของฝากและของที่ระลึก เช่น เสื้อยืดที่มีข้อความเกี่ยวกับปาย กระเป๋าผ้าแบบต่างๆ เครื่องประดับ รูปภาพ โปสการ์ด ตลอดจนร้านอาหาร ที่พัก แหล่งบันเทิงต่างๆ จะมีอยู่เรียงรายในถนนเส้นนี้

แม่น้ำปาย เป็นแม่น้ำที่ใหญ่และยาวที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เกิดจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาแดนลาวในเขตอำเภอปาย แล้วไหลลงมาทางทิศใต้ผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ไปบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำคง) ในเขตรัฐคะยา สหภาพพม่า มีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร กว้างประมาณ 30 เมตร และลึกประมาณ 7 เมตร ท้องน้ำมีลักษณะเป็นกรวดทราย และในฤดูแล้งน้ำลึกประมาณ 1 เมตร ตลอดลำน้ำปายนี้สามารถล่องแพได้

วัดกลาง ตำบลเวียงใต้ มีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะไทยใหญ่แท้ ประดิษฐานอยู่กลางลานวัดและมีเจดีย์ทรงมอญรายล้อมโดยรอบ ใต้เจดีย์ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน เหนือฐานเจดีย์องค์ใหญ่ทำเป็นมณฑปยอดมงกุฎ
6.6 การอุตสาหกรรม
เขตเทศบาลตำบลปายไม่มีอุตสาหกรรม
6.7 การปศุสัตว์
การพาณิชย์
1. ร้านอาหาร จำนวน 182 แห่ง
2. ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 4 แห่ง
3. การพิมพ์โฆษณา การพิมพ์ (ร้านป้าย) จำนวน 3 แห่ง
4. ห้องพักและรีสอร์ท จำนวน ๘๓ แห่ง
5. ร้านอุปกรณ์เครื่องเขียน และอุปกรณ์สสำนักงาน จำนวน 3 แห่ง
6. ประกันภัย/สถานตรวจสภาพรถยนต์ ตรอ. จำนาน 2 แห่ง
7. บริษัทนำเที่ยว จำนวน 9 แห่ง
8. ร้านวัสดุไฟฟ้า จำนวน 4 แห่ง
9. ร้านอุปกรณ์ไอที จำนวน 6 แห่ง
10. วัสดุก่อสร้าง จำนวน 2 แห่ง
11. ห้างค้าปลีก จำนวน 2 แห่ง กลุ่มอาชีพ มีกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มทำน้ำพริกคั่วทราย , ทำถั่วเน่าแผ่น(ถั่วเหลือง) กลุ่มทำน้ำพริกลาบ, กลุ่มเทียนประดิษฐ์, กลุ่มผลิตดอกไม้จัน ฯลฯ
6.8 แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ ๑๕ – ๖๐ ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ ๙๕ และมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี เป็นลำดับที่ 2 ของจังหวัด


7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
-


8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
- ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
มีกิจกรรมที่สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันเลื่องชื่อ ได้แก่
1) ประเพณีปอยก่องโหลวัดหัวนา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
2) ประเพณีปอยส่างลอง เดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี
3) ประเพณีสงกรานต์และรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ วันที่ 13 เมษายน
4) ประเพณีแห่เทียนพรรษา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8
5) ประเพณีกาดหลู่ ก่อนวันออกพรรษาประมาณ 2 – 3 วัน
6) ประเพณีดับไฟเทียนวัดหลวง วัดหัวนา หลังวันออกพรรษา
7) ประเพณียี่เป็งวัดป่าขาม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
8) ประเพณีลอยกระทง แรม 1 ค่ำ เดือน 12
8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้องลาย จองพารา ถั่วเน่า ตุง 12 ราศี หรือ 12 นักษัตร ตุงไส้หมู ภาษาถิ่น ภาษาไทยใหญ่, ภาษาคำเมือง (ล้านนา)
8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
สินค้าพื้นเมือง ชา ถั่วแปยี ถั่วแปหล่อ ข้าวซอยตัด หมวกกุบไต หัตถกรรมชาวเขา เครื่องจักรสาน เปลถัก
ของที่ระลึก ของที่ระลึก เช่นเสื้อยืดที่มีข้อความเกี่ยวกับปาย กระเป๋าผ้า เครื่องประดับ รูปภาพ โปสการ์ด


9. ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ
ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำดิบจากแม่น้ำปาย ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา
9.2 ป่าไม้
ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้
9.3ภูเขา
ในเขตเทศบาลไม่มีภูเขา
9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรน้ำ เทศบาลตำบลปาย มีแหล่งน้ำที่สำคัญเพื่อการอุปโภคและบริโภค ได้แก่ ลำน้ำปาย , ลำห้วยม่วงกอน สภาพแหล่งน้ำจะขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง ประกอบกับเกษตรกรทำการเพราะปลูกพืชจึงมีการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก และขาดการดูแลรักษาต้นน้ำ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ การตัดไม้ทำลายป่า ดินไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้ ทำให้มีการพังทลายของหน้าดินอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาลอีกทางหนึ่งด้วย

สภาพสิ่งแวดล้อม สภาพสิ่งแวดล้อมของอำเภอปาย ในอดีตเป็นไปด้วยธรรมชาติที่สงบสุขและร่มเย็น แต่เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมืองอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เกิดการเข้ามาประกอบการค้า การทำธุรกิจของคนในพื้นที่และต่างพื้นที่ มีห้องพัก โรงแรม เกสเฮาส์ไว้บริการนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาพักชมธรรมชาติบ้านเมือง วิถีชีวิตชุมชน ทำให้ปริมาณขยะ-น้ำเสียจากบ้านเรือนร้านค้า สถานประกอบการต่างๆเริ่มมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยขาดการเอาใจใส่ของผู้ประกอบการ ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ไม่มีการบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะถ่ายเทของเสียลงสู่ลำน้ำ ไม่มีการคัดแยกขยะ ปัญหาหลายๆอย่างของคนในชุมชนรวมกันเป็นปัญหาใหญ่ที่จนยากจะแก้ไข หากทุกคนขาดความร่วมมือร่วมใจที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหา



ข้อมูลพื้นฐาน


สภาพทั่วไป
แผนที่
สภาพสังคม
การบริการขั้นพื้นฐาน
สาธารณูปโภค
ผลิตภัณฑ์
สถานที่สำคัญ
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์
อำนาจหน้าที่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


บุคลากร


โครงสร้างองค์กร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง

การบริหารงาน


การบริหารงาน
การบริหารเงินงบประมาณ
การจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การป้องกันทุจริต
งานกิจการสภา


ประชาสัมพันธ์


ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประกาศจาก EGP
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนะนำ
สถานที่ท่องเที่ยว/สำคัญ

E-Service


สำหรับประชาชน
สำหรับพนักงาน

ติดต่อหน่วยงาน

เทศบาลตำบลปาย
ที่อยู่ : เทศบาลตำบลปาย 59 หมู่ 2 ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58130
โทรศัพท์ : 053-699196
FAX : 053-699405
อีเมล : tessabanpai@gmail.com
FACEBOOK : เทศบาลตำบลปาย

check mail
เหตุด่วนเหตุร้ายแจ้ง
เทศบาลตำบลปาย
โทรศัพท์ 053-699196
www.tessabanpai.go.th